ประวัติวัดภคินีนาถ  วรวิหาร
โดย
พระราชมงคลมุนี (เงิน  สุทนฺโต)
        
         ชื่อวัดโดยทางราชการ  วัดภคินีนาถ  วรวิหาร  ชื่อที่ชาวบ้านเรียก  วัดบางจาก  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๒๐๐  พระราชทานวิสุงคามสีมา  พ.ศ. ๒๓๒๕  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิด วรวิหาร  ประเภท  มหานิกาย  อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ (ปัจจุบัน) แขวง
บางพลัด-บางอ้อเขต ๑ เขตบางพลัด  กรุงเทพมหานคร  ภาค ๑

ตำแหน่งที่ตั้งวัด
         เลขที่  ๒๙๕  แขวงบางพลัด  เขตบางพลัด  กรุงเทพมหานคร  บริเวณใกล้เคียง
         ทิศเหนือ  ติดต่อกับถนน  (เดิมเป็นคันคู) ยาวประมาณ ๗๒ วา
         ทิศใต้   ติดต่อกับคลองบางจาก  ยาวประมาณ ๗๒  วา
         ทิศตะวันออก  ติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา  ยาวประมาณ  ๑๕๐ วา
         ทิศตะวันตก  ติดต่อกับคันคู  ยาวประมาณ  ๑๕๐ วา

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด
            เมื่อเทียบกับวัดใกล้เคียงที่ติดกับลำน้ำเจ้าพระยาแล้ว  เห็นได้ชัดว่า  เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มกว่าวัดอื่น  ฤดูน้ำ ฤดูฝน  ลานวัดเจิ่งนองด้วยน้ำ  โอกาสแห้งมีไม่กี่เดือน  งานวัดที่จะมีประชาชนไปร่วมงานมาก ๆ เช่น งานกฐิน  เป็นต้น  จึงไม่สะดวก  ผู้ปกครองคงจะรู้สึกเช่นนี้เป็นส่วนมาก  จึงพยายามถมพื้นที่วัดกันมาหลายยุคหลายสมัย
จากหลักฐานและการบอกเล่า  ใช้ทรายถมบ้าง  ขี้แกลบบ้าง  ขี้เลื่อยบ้าง  ตามแต่จะหาได้
และตามกำลังของสมภารแต่ละยุค   แต่เพราะเหตุที่บริเวณวัด  กว้างขวางมาก  และการลำเลียงวัสดุที่จะถม  ซึ่งอาศัยแต่ทางน้ำทางเดียวไม่สู้สะดวกจึงอยู่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป  จึงไม่ดอนเท่าที่ควร  มาถมกันอย่างจริงก็เมื่อมีถนนเข้าถึงวัดแล้ว

อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินของวัด
         ๑. จำนวนเนื้อที่ตั้งวัดที่แขวงบางพลัด  เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพมหานคร  มีเนื้อที่ตามสำรวจเดิม  ๒๖ ไร่ ๓ งาน ๔๔  ตารางวา แต่รางวัดเพื่อออกโฉนด  เมื่อ พ.ศ.             ๒๕๒๙  ได้เนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๓ งาน  ๙๖  ตารางวา  โฉนดเลขที่  ๑๑๖๖๓๗  เล่ม  ๑๑๖๗  หน้า  ๑๘  อ.บางกอกน้อย  จ. กรุงเทพมหานคร
         ๒. ที่ธรณีสงฆ์  ที่แขวงบางพลัด  เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพมหานคร  มีเนื้อที่ทั้งสิ้น  ๑๑  ไร่  โฉนดเลขที่  ๒ น.๑  เลขที่ ๓๓๕ ตำบลบางพลู  อำเภอบางกอกน้อย  โฉนด ๘๑๙  สารบัญเล่มที่ ๙  หน้า ๑๙

                        ความสำคัญของวัด
         ๑.  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิด  วรวิหาร
         ๒.  เป็นวัดเจ้าคณะแขวงบางพลัด-บางอ้อ  เขต ๑
         ๓.  เป็นที่ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม  ในแขวงบางพลัด-บางอ้อ เขต ๑
         ๔.  เป็นวัดที่มีปูชนียวัตถุ  และถาวรวัตถุที่สำคัญทางโบราณคดี  รัชกาลที่  ๑  รัชกาลที ๒   รัชกาลที่ ๓

นามวัด  ผู้สร้างวัด  และผู้ปฏิสังขรณ์
         วัดภคินีนาถ  วรวิหาร  เป็นวัดโบราณมีมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์  เดิมมีชื่อว่า 
“วัดบางจาก” เพราะตั้งอยู่ปากคลองบางจาก  ชาวบ้านย่านนั้นมักจะเรียกว่า  “วัดนอก”
เพราะคู่กับวัดใน  คือ วัดเปาโรหิตย์  วัดทอง  และวัดสิงห์  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ  พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดภคินีนาถ”  โดยมีฐานะศักดิ์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิดวรวิหาร  นักปราชญ์ทางโบราณคดี  สันนิษฐานจากวัตถุที่ยังคงเหลืออยู่  คือวิหาร  เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย
         ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมหลวงเทพยวดี         พระราชธิดาองค์น้อยของรัชกาล ที่ ๑  ทรงสถาปนาใหม่  สร้างเสร็จแต่พระอุโบสถหลังเดียว    หมื่นพินิจพลภักดิ์ (ชิด  พงษ์จินดา)  เล่าว่ามีการเปรียญอีกหลังหนึ่ง อยู่ด้านเหนือของกุฏิตำหนักชำรุดและรื้อสมัย  พระครูวิสุทธิสังวร (ผ่อง)  แล้วปลูกใหม่ 
ยื่นออกไปทางทิศตะวันออก  อันเป็นที่งอกริมแม่น้ำ  คือ  การเปรียญหลังปัจจุบันนี้  ซึ่งก็ทรุดโทรมใช้ไม่ได้แต่ยังไม่รื้อแล้วเปลี่ยนอุโบสถหลังเดิมเป็นวิหารคือหลังที่ยังอยู่ในขณะนี้ ใช้พระอุโบสถหลังใหม่ตั่ง แต่นั้นมาการสถาปนาและทรงสร้างพระอุโบสถในครั้งนั้น  มีขนาดยาว ๑ เส้น ๘ วา ๒ ศอก
พระประธาน  หน้าตักกว้าง ๕ ศอก  สูง ๗ ศอก  พระอุโบสถมีพระระเบียง (วิหารคต) รอบพระอุโบสถ  พระระเบียงสร้างยกฐานขึ้นเป็นอาสนสงฆ์โดยรอบ  เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ๘๐ องค์  มีผู้สันนิษฐานกันว่า  พระอุโบสถหลังนี้น่าจะสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑  บางท่านว่าน่าจะป็นรัชกาลที่ ๒  และบางท่านว่าควรจะเริ่มในรัชกาลที่ ๑  แล้วมาเสร็จในรัชกาลที่ ๒  ข้าพเจ้าเห็นว่าน่าจะเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง  จึงขอนำประวัติสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์นั้น  มากล่าวไว้ในที่นี้เพื่อผู้อ่านสันนิษฐานเอาเอง สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมหลวงเทพยวดี  มีพระประสูติกาล  พ.ศ. ๒๓๒๐  ปีระกา  เป็นที่ ๑๐ ในรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี  พระนามเดิมว่า “เอี้ยง” หรือ “นกเอี้ยง”  พระชนมายุได้  ๕  พรรษา  บิดาปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงประภาวดี
หรือประไพวดี  ต่อมาทรงกรมฯ เป็นกรมขุนและกรมหลวงเทพยวดีโดยลำดับ  ทรงมีพระชนม์ในรัชกาลที่หนึ่ง
๒๗ ปี  ในรัชกาลที่ สอง ๑๔ ปี  สิ้นพระชนม์ก่อนรัชกาลที่สอง ๑ ปี  ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า  ถวายพระเพลิงเสร็จในปีนั้น
รัชกาลที่   ๒   ก็ประชวนสวรรคตในปีพ.ศ.  ๒๓๖๗  เป็นเวลาเข้าพรรษาแล้ว  ๑๑ วันเปลี่ยนแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า
อยู่หัวเสวยราชสมบัติ พอออกพรรษาเสด็จพระราชดำเนินทอดกฐิน
วัดบางจากมีรับสั่งให้รื้อ
พระตำหนักของสมเด็จกรมหลวงเทพยวดีมาปลูกเป็นกุฏิเจ้าอาวาส  และให้เปลี่ยนนามวัดบางจาก เป็นวัดภคินีนาถ
(เดิมเขียน เป็น วัดภคินีนาฏ)เมื่อรัชกาลที่  ๑  สวรรคต  สมเด็จฯ  มีพระชนม์  ๓๒  โดยปี  และในรัชกาลที่  ๒  อีก๑๒ปี
พระองค์มีพระชนม์  ๔๗  พรรษา
เนื่องด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง  กรมหลวงเทพยวดี  ไม่มีพระโอรสพระธิดาจะสืบวงศ์สกุล  เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว  จึงเท่ากับขาด
ทายาทที่จะรับเป็นพระภาระสืบต่ออย่างแข็งขัน  จึงตกเป็นภาระของเจ้าอาวาสแต่ละองค์  คอยชักชวนแนะนำ  พระเณร 
ทายกทายิกาให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์กันเป็นส่วนใหญ่  ตกลงว่าวัดภคินีนาถ  คงจะขึ้นๆ ลงๆ  ไปตามความสามารถ
และความเอาใจใส่ของเจ้าอาวาสแต่ละองค์  สรุปได้ว่า วัดภคินีนาถ วรวิหาร  สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมหลวงเทพยวดี 
ทรงสถาปนาแน่นอน  สำหรับผู้ปฏิสังขรณ์ตามที่กล่าวมาแล้วถือว่า  เป็นไปในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ส่วนที่จะกล่าวต่อไป 
จะเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๔  และก็คงกล่าวเพียงย่อ ๆ
         

รัชกาลที่ ๔       

ในสมัย  พระประสิทธิสุตคุณ (นาค)  เป็นเจ้าอาวาส ได้บูรณปฏิสังขรณ์ ดังนี้
       ๑. แปลงตำหนัก (หอสวดมนต์) เป็นกุฏิธรรมดา ให้เป็นที่พำนักอาศัยของพระสงฆ์
        ๒.เจ้าจอมมารดาห่วงในรัชกาลที่๔ได้ปฏิสังขรณ์พระวิหารจนอยู่ในสภาพเรียบร้อยต่อมาในสมัย พระวิสุทธิสมาจาร
(ฉัตร)เป็นเจ้าอาวส ได้ปฏิสังขรณ์มุขพระระเบียงพระอุโบสถด้านหน้าให้มีสภาพดีขึ้น ด้วยของเก่าที่เริ่มชำรุด

รัชกาลที่  ๕

         ในสมัย  พระครูวิสุทธิสังวร (ผ่อง) เป็นเจ้าอาวาส  ได้ก่อสร้าง  และปฏิสังขรณ์ ดังนี้
         ๑.  รื้อการเปรียญหลังเก่า  ไม่ทราบแน่ว่าสร้างในสมัยใด  ปลูกอยู่ด้านเหนือขนานเป็นแนว  กับกุฏิตำหนักแล้วสร้างขึ้นใหม่เยื้องไปด้านทิศตะวันออกตามพื้นดินที่งอก  ยาว  ๕  ห้อง  กว้าง  ๓  ห้อง  มุงกระเบื้องดินทราย  และสร้างศาลาขวางทางด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตกรวม ๓ หลัง  ศาลาการเปรียญหลังนี้  ขณะนี้อยู่ในสภาพทรุดโทรมมากเพราะถูกน้ำเซาะ

         ๒.  โรงเรียนหนังสือไทย  ยาว  ๑๐ วาเศษ  มุงกระเบื้องซีเมนต์ฝากรุด้วยไม้กระดานตะแบกรื้อหมดแล้ว
         ๓.   ซ่อมศาลาเก๋งคู่ใหญ่   หน้าพระอุโบสถ  เปลี่ยนหลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ทั้ง  ๒  หลัง
         ๔.   สร้างถนนแถวข้างกุฏิ  สูง  ๑  ศอก  ยาว  ๒  เส้น
         ๕.   โรงเรียนพระปริยัติธรรม  อยู่ระหว่างกุฏิ  กว้าง  ๓  วา  ยาว  ๖  วา  มุงกระเบื้องซีเมนต์เรียกในสมัยต่อมาว่า  “หอฉันพระ”   รื้อหมดแล้ว
         ๖.   พระภิกษุเภา  ปฏิสังขรณ์สระหลังพระวิหาร  ก่ออิฐถือปูนตั้งแต่เชิงเขื่อนด้านบน

หน้าต่อไป

                       

 

 

Free Web Hosting