สถานที่สำคัญของวัดภคินีนาถ


พระอุโบสถอยู่ในวงล้อมพระระเบียงวิหารคต



ภาพเขียนสีเครื่องโต๊ะบูชาแบบจีนที่หลังบานหน้าต่างในพระอุโบสถ




ภาพเขียนสีลายดอกไม้บนผนังในพระอุโบสถ


ภาพเขียนสีรูปค้างคาวและช่อดอกไม้บนเพดานพระระเบียง



ภาพเขียนสีเครื่องโต๊ะบูชาแบบจีนบนผนังในพระอุโบสถ


ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ



พระระเบียงรอบพระอุโบสถ



พระวิหาร




ตำหนักสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี


หอระฆัง




โรงเรียนพระปริยัติธรรม



ศาลาการเปรียญทรงไทย ๒ชั้น


                                 
                      ฌาปนสถานปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๑


         ๑.  พระอุโบสถ ยาว (รวมทั้งพาไลหน้าหลัง)  ๑  เส้น ๘  วา  ๒  ศอก  กว้าง  ๕ วา
๒  ศอก  หลังคามุงกระเบื้องดินทราย   ช่อฟ้าใบระกาลงรักประดับกระจก  หน้าบันหน้าหลังจำหลักลายลงรักปิดทองประดับกระจก  บานประตู  หน้าต่าง  เขียนลายรดน้ำ  ลงรักปิดทอง  ภายในพระอุโบสถเพดานเขียนรูปค้างคาวรุมล้อมลูกไม้ฉลุลายหน้าต่างข้างบนและข้างล่าง  เขียนลายโต๊ะจีน  ระบายสีสวยงามสร้างโดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงประไพวดี  กรมหลวงเทพยวดี  ในรัชกาลที่  ๑
         ๒.  พระวิหาร  เดิมเป็นพระอุโบสถ  กว้าง  ๔  วา  ยาว  ๑๐  วา  สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมหลวงเทพยวดี ทรงเห็นว่าคับแคบ  จึงทรงเปลี่ยนเป็นพระวิหารและทรงสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่
         ๓.  พระระเบียง (วิหารคต) เป็นพระระเบียงรอบพระอุโบสถ  มีมุข  ๔  ด้าน  ระยะห่างจากพระอุโบสถด้านหน้า  ๖  วา  ด้านหลัง  ๕  วา ๒  ศอก  คืบ  พระระบียงยาว  ๒  เส้น  ๑  วา  ๑  ศอก  ๒  คืบ  มุงด้วยกระเบื้องดินทราย (ปัจจุบัน  เป็นกระเบื้องเคลือบ)  พระระเบียงสร้างทรงเสาเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง  และบัวหัวเสากลีบยาว  ภายในระเบียง  เพดานฉลุลายทองค้างคาวรุมล้อมลูกไม้  ล่องชาด  ยกอาสนะสูงประมาณศอกเศษโดยรอบพระระเบียง  เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย  จำนวน  ๘๐  องค์

         ๔.  ศาลาการเปรียญของเดิม  อยู่ด้านเหนือของตำหนักติดแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นลูกกรงไม้สัก  รื้อสมัยพระครูวิสุทธิสังวร (ผ่อง)  และได้สร้างขึ้นใหม่  ถัดออกไปเป็นปูน  ทั้ง  ๒  หลัง
         ๕.  ศาลาเก๋ง  ๔  หลัง  อยู่หน้าพระอุโบสถ  เป็นศาลาขนาดเล็ก  ๒  หลัง ช่อมใหม่เป็นปูนทั้ง ๒ หลัง  สมัยพระธรรมถาวร  และถัดออกไปทางทิศตะวันออก  มีศาลาเก๋งขนาดใหญ่อีก  ๒  หลัง  ยังคงอยู่แต่โทรมมาก
         ๖.  ฌาปนสถานพร้อมทั้งศาลาบำเพ็ญกุศล  ฌาปนสถานเป็นคอนกรีต หลังคาทรงจัตุรมุข  มุงกระเบื้องเคลือบ  มีเตาเผาศพ  ๒  เตา  บันไดขึ้น  ๔  ด้าน  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๑  ศาลาบำเพ็ญกุศลเป็นอาคารคอนกรีต  กว้าง  ๘  เมตร  ยาว  ๑๕  เมตร  สูง  ๑๐ เมตร  หลังคามุงกระเบื้องเคลือบเป็นทรงไทย  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๒๒
         ๗.  กุฏิ  เป็นอาคารคอนกรีต  ๔  หลัง  อาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก  ๓  หลัง  อาคารไม้  ๑๓  หลัง
         ๘.  เตียง  กว้าง  ๒  ศอกคืบ  ยาว  ๕  ศอก  เล่ากันว่า  เป็น  พระแท่นประชวรของ  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงประไพวดี  กรมหลวงเทพยวดี  ในรัชกาลที่ ๑  มีรอยเจาะสำหรับลงพระบังคล  ซึ่งยังมิได้อุด  คงได้มาเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว
         ๙.  ก.  พระไตรปิฎกหนึ่งจบพร้อมตู้  ได้รับพระราชทาน  ในรัชกาล ที่  ๕  ประมาณ  พ.ศ. ๒๔๓๓
               ข.  พระไตรปิฎกภาษาไทย  ๑  จบ  ทายกทายิการ่วมทุนกันสร้าง
               ค.  พระไตรปิฎก  ฉบับเทศนา  เป็นใบลาน  ๑  จบ  ตระกูลกาญจนกุญชรถวาย
         ๑๐.  ธรรมาสน์  ได้รับพระราชทานในงานพระเมรุพระบรมศพ  รัชกาลที่  ๕  พ.ศ. ๒๔๕๓
         ๑๑.  พระบรมรูปหล่อทรงเครื่อง  จอมพลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้รับพระราชทานพร้อมกับธรรมาสน์






Free Web Hosting