ประวัติย่อหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

พระอาจารย์ฝั้น
(สมัยยังหนุ่ม)
นามเดิม ฝั้น สุวรรณรงค์
บิดา ไชยกุมาร สุวรรณรงค์
มารดา นุ้ย สุวรรณรงค์
เกิด วันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
บรรพชาและอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีท่านพระอาญาครูธรรม เป็นปัพพชาจารย์ พ.ศ. ๒๔๖๒ อุปสมบทในฝ่ายมหานิกายที่วัดสิทธิบังคม บ้านไฮ่ ตำบลบ้านไฮ่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีท่านพระครูป้อง (ป้อง นนตะเสน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สังข์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๖๘ เวลา ๑๕.๒๒ น. ณ วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
การศึกษาและปฏิบัติ ได้ร่วมจำพรรษาและติดตามปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่น เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของพระอาจารย์มั่นที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ทั้งภายนอกและภายใน และมีภูมิจิตภูมิธรรมเป็นที่น่าอัศจรรย์
มรณภาพ วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ เวลา ๑๙.๕๐ น.


โอวาทแนวทางการปฎิบัติธรรมของ หลวงปู่้ั่ฝั้น อาจาโร
ธรรมโอวาท ธรรมโอวาทของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรได้รับการรวบรามโดย คุณหมออวย เกตุสิงห์ ได้รวบรวม ไว้ใน หนังสืออนุสรณ์งานศพพระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็น พระธรรมเทศนา กัณฑ์ใหญ่ ว่าด้วย "พระอภิธรรมสังคินี มาติกา "เป็นงานประพันธ์ของพระอาจารย์ สมัยยังเป็นยังหนุ่มและท่านได้เขียนไว้ด้วย "อักษรธรรม" เป็นลายทือของท่านเอง งดงามมาก ส่วนที่สองเป็นพระธรรมเทศนา (อาจาโรวาท) ที่ท่านแสดงให้ฟังและมีผู้จดจำหรืออัดเทปไว้ ในส่วนนี้มีทั้งหมด ๑๕ กัณฑ์ ในที่นี้ จะยกมาเฉพาะบางส่วน ในอาจาโรวาท เล่มที่ ๘ ดังนี้


บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละทาน ก็รู้อยู่แล้ว คือการสละ หรือ การละการวางผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มากผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อยมัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น นี้หละ คือความโลภ ต้องสละเสีย ให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติ วัตถุทั้งหลายเหล่านั้นหละ ไม่ใช่อื่นไกลแปลว่า ทะนุบำรุงตน เหมือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือทานบารมีอันนี้ นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องสะเบียงของเรา เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้วเราจะเดินทางไกล เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก กลัวทุกข์กลัวยากของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำไว้ อยากได้ มันก็ไม่ได้ ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี เหตุนี้ ให้พากันเข้าใจ ศีลบารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระถ้าพระไม่ให้แล้ว

ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีลแท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อยอย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือ ปาณาติปาตา

ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลอทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีลกาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษมุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโษ ม่ใช่ศีลสุราเมรยมชฺชฯอันนี้ก ็เป็นแต่โทษถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีลให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนาเหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้
พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงษ์ ของเราเราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุมก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติแม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ เหตุนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนไว้ ให้ละเว้นโทษที่เราไม่พึงปรารถนาเช่น อทินนาทาน การขโมยอย่างนี้หละ เขามาขโมยของ ขโมยเล็กขโมยน้อยของเรา เราก็ไม่อยากได้หรือโจรปลันสะดมอย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ท่านจึงให้ละถ้าเราไม่ได้ขโมยของใคร ไม่ว่าในภพใดภพหนึ่ง เราก็ไม่ถูกโจรไม่ถูกขโมย ไม่มีร้ายไม่มีภัยอะไรสักอย่าง เราละเว้นแล้ว โจรทั้งหลายก็ไม่มี โจรน้ำ โจรไฟ โจรลมพายุพัด ก็ไม่มี นี่เป็นอย่างงั้นกาเม ก็เช่นเดียวกัน เกิดมามีสามีภรรยา มีบุตร รองดองกัน อันเดียวกัน เกิดคนมาละเมิดอย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ว่ายากสอนยาก หรือทะเลาะเบาะแว้งกัน เราก็ไม่อยากได้ ถ้าเราละเว้นโทษกาเมนี้แล้ว มันก็ไม่มีโทษหละมุสาวาทา ก็พึงละเว้น มีคนมาฉ้อโกงหลอกลวงเรา เราก็ไม่อยากได้คิดดูซี เราไปหลอกลวงฉ้อโกงเขา เขาก็ไม่อยากได้ เช่นเดียวกัน นี่หละ พระพุทธเจ้าท่านจึงได้ละเว้น มันเป็นโทษ คนไม่ปรารถนาถ้าเรารักษาศีลนี้แล้ว เราก็สบาย ไปไหนก็สบายซี่ ไม่มีโทษ เหล่านี้แล้วสุรา การมึน การเมา เราละกันแล้ว เราก็ไม่อยากได้ ภรรยาขี้เมา สามีขี้เมา ลูกขี้เมาพ่อแม่พี่น้องขี้เมา เราก็ไม่อยากได้ เมื่อไม่มีเมาแล้ว จะทะเลาะเบาะแว้งกันที่ไหนเล่า เกิดมากรรมให้โทษ เช่น คนเป็นใบ้บ้าเสียจริตผิดมนุษย์ เป็นลมบ้าหมู เราก็ไม่อยากได้หูหนวกตาบอด เป็นใบ้ อย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ขี้ทูดกุดถัง กระจอกงอกง่อยเป็นคนไม่มีสติปัญญา เราก็ไม่อยากได้ พระพุทธเจ้าจึงได้ละเว้นโทษเหล ่านี้เมื่อเราทั้งหลายละเว้นแล้ว เราไปไหน ก็อยู่เย็นเป็นสุขสนุกสบาย

ฉะนี้เมื่อเราสมาทานศีล พระท่านจึงบอกว่า สีเลน สุคติ ยนฺติ ผู้ละเว้นแล้วมีความสุขสีเลน โภคสมฺปทา เราก็มีโภคสมบัติ ไปในภพไหนก็ดี ในปัจจุบันก็ดีเป็นคนไม่ทุกข์เป็นคนไม่จน ด้วยอำนาจของศีลนี้สีเลน นิพฺพุติ ยนฺติ จะไปพระนิพพาน ก็อาศัยศีลนี้เป็นต้น ต่อไปนี้จะให้ทำบุญโดยเข้าที่ภาวนา นั่งดูบูญดูกุศลของเราจิตใจมันเป็นยังไง ดูให้มันรู้มันเห็นซี่ อย่าสักแต่ว่า สักแต่ทำ เอาให้มันเห็นจริงแจ้งประจักษ์ซี่เราต้องการความสุขสบาย แล้วมันได้ตามต้องการไหม เราก็มาฟังดูว่ าความสุขความสบายมันอยู่ตรงไหนเราก็นั่งให้สบาย วางกายของเราให้สบาย วางท่าทางให้สง่าผ่าเผยยิ้มแย้มแจ่มใสเมื่อกายเราสบายแล้ว เราก็วางใจให้สบาย รวมตาเข้าไปหาดวงใจ หูก็รวมเข้าไป เมื่อใจสบายแล้ว นึกถึงคุณพระพุทธเจ้าอยู่ในใจ พระธรรมอยู่ในใจ พระอริยสงฆ์อยู่ในใจเรเชื่อมั่นอย่างนั้นแล้ว จึงให้นึกคำบริกรรมภาวนา ว่า " พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ" สามหนแล้วเอาคำเดียว ให้นึกว่า "พุทฺโธ พุทฺโธ " หลับตา งับปากเสีย ตาเราก็เพ่งเล็ง ดูตำแหน่งที่ระลึกพุทโธนั่น มันระลึกตรงไหน หูเราก็ไปฟังที่ระลึกพุทโธนั่นสติเราก็จ้องดูที่ระลึก พุทโธ พุทโธ จะดูทำไมเล่า ดูเพื่อให้รู้ว่า ตัวเรานี่เป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ มันดีหรือมันชั่วจิตของเราอยู่ในกุศล หรือ อกุศลก็ให้รู้จัก ถ้าจิตของเราเป็นกุศล มันเป็นยังไงคือ จิตมีความสงบ มันไม่ส่งหน้า ส่งหลัง ส่งซ้าย ส่งขวา เบื้องบน เบื้องล่าง ตั้งอยู่จำเพาะท่ามกลางผู้รู้ มันมีใจเยือก ใจเย็น ใจสุข ใจสบายจิตเบา กายมันก็เบา ไม่หนักไม่หน่วงไม่ง่วงไม่เหงา หายทุกข์ หายยาก หายความลำบาก รำคาญ สบายอกสบายใจ

นั่นแหละตัวบุญตัวกุศลแท้ นี้จะได้เป็นบุญเป็นบารมีของเรา เป็นนิสัยของเรา ติดตนนำตัว ไปทุกภพทุกชาติ นี่แหละให้เข้าใจไว้ จิตของเราสงบเป็นสมาธิ คือ กุศล อกุศลเป็นยังไง คือ จิตเราไม่ดี จิตทะเยอทะยาน จิตดิ้นรนพะวักพะวง จิตทุกข์ จิตยาก จิตไม่มีความสงบ มันเลยเป็นทุกข์ เรียกว่า อกุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรม อกุศลธรรม อันนี้ว่าเป็นกรรมในศาสนาท่านว่า กรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ในที่อื่น กมฺมสฺสโกมฺหิ กรรมนั้นเป็นของๆ ตนกลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหริอเป็นบาป เราจะได้นับผลของกรรมนั้นสืบไปเราจะรู้ได้อย่างไง กุศลกรรม พิจารณาดูซี่ กรรมทั้งหลายมันไม่ได้อยู่อื ่นกายกรรม แน่ะ มันอยู่ในกายของเรานี้

มันเกิดจากกายของเรานี้ วจีกรรม มันเกิดจากวาจาของเรานี้ ไม่ได้เกิดจากอื่นไกล มโนกรรม มันเกิดจากดวงใจของเรานี้แหละ ให้รู้จักไว้ต่อไปเราไม่ต้องสงสัยว่า กรรมมันมาจากไหน ใครเป็นผู้ทำล่ะเดี๋ยวนี้เรารู้ เราเป็นผู้ทำเอง ไม่ใช่เทวบุตรเทวดาทำให้ เราทำเอาเองที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้หละ เราทำบุญบุญอันนี้ เป็นอย่างเลิศประเสริฐแท้คือเราให้ทานร้อยหน พันหน ก็ตาม อานิสงส์ไม่เท่าเรานั่งสมาธินี้มีผลานิสงส์ เหมือนทำบุญอย่างที่สุดแล้ว